- Anaerobic ATP-PC system เมื่อกล้ามเนื้อเริ่มต้นทำงาน กล้ามเนื้อจะใช้แหล่งพลังงานจาก ATP และ PC ที่เก็บสะสมอยู่ในกล้ามเนื้อ พลังงานจากแหล่งนี้จะถูกนำมาใช้ได้เพียง 5 - 10 วินาที หรือ ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวได้ ประมาณ 50 -100 ครั้งเท่านั้น ระบบนี้จะใช้ในการเริ่มต้นของการหดตัวของกล้ามเนื้อแบบทันทีทันใด เช่น การวิ่ง 100 เมตร , การออกตัวด้วยความเร็วของการปั่นจักรยาน , การSprint ( ระบบนี้จะไม่มีการใช้ Oxygen )
- Anaerobic Lactic acid systemเมื่อผ่าน 10 วินาทีแรกไป กล้ามเนื้อจะเริ่มทำการสลาย glycogen ที่สะสมอยู่ ให้กลายเป็น glucose และ จะทำการสลายglucose ให้กลายเป็น ATP โดยไม่มีการใช้oxygenมาเกี่ยวข้องด้วย โดยระบบนี้จะกลายเป็นแหล่งพลังงานหลัก ภายในเวลา 30 วินาที ผลของการสลายglucoseโดยไม่ใช้oxygenนี้ นอกจากจะให้ATP จำนวนไม่มากแล้ว(เมื่อเทียบกับการใช้oxygen) ยังทำให้เกิดกรดlacticจำนวนมากสะสมไว้ในกล้ามเนื้อแทน ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อเกิดสภาวะกรดขึ้นและจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการล้าตัว จึงจำเป็นต้องกำจัดออกไปอย่างรวดเร็วด้วยการเพิ่มปริมาณเลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อให้มากขึ้น โดยการเพิ่มการทำงานของหัวใจพร้อมกับเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ , การที่กล้ามเนื้อจะล้าตัวเร็วหรือช้าเพียงใด จะขึ้นอยู่กับอัตราเร็วในการสร้างและการกำจัดกรดlactic ระบบพลังงานนี้จะดำเนินต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 2 - 2.5 นาที จึงจะเริ่มเข้าสู่ระบบที่ 3
- Aerobic system เมื่อย่างเข้าสู่ระบบนี้ กล้ามเนื้อจะเริ่มขบวนการสร้าง ATP จาก glucose โดยอาศัย oxygen (oxydative phosphorylation) ผลลัพธ์จะได้ ATP ออกมาจำนวน มาก แต่กระบวนการเป็นไปอย่างช้าๆ
- ภายในเวลา 4 นาทีหลังจากกล้ามเนื้อเริ่มทำงาน ระบบพลังงานระบบนี้จะผลิต ATP ได้เป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของ ATP ที่กล้ามเนื้อใช้ทั้งหมด
- เมื่อเวลาผ่านไป 10นาที จะให้ ATP แก่กล้ามเนื้อเป็นจำนวนถึง 90%ของ ATP ที่กล้ามเนื้อใช้
- ถ้าการทำงานของกล้ามเนื้อยังดำเนินต่อไปเกินกว่า 1 ชม. พลังงานที่กล้ามเนื้อใช้แทบทั้งหมดจะมาจากระบบนี้ โดยจะทำการสลาย glycogen และไขมันที่สะสมมาสร้างเป็น glucose อีกที และระบบนี้จะดำเนินต่อไปได้อีกหลายชั่วโมง ตราบเท่าที่ยังมีการสร้างและสะสม glycogen มาชดเชยส่วนที่ถูกใช้ไป
ของเสียที่ได้จากการทำงานของระบบนี้ คือ คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ซึ่งร่างกายสามารถทำการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากกล้ามเนื้อ ได้อย่างรวดเร็วกว่าการกำจัดกรดlacticรวมไปถึงจะมีการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของหัวใจที่น้อยกว่าด้วย
13 ตุลาคม 2551
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ
09 ตุลาคม 2551
รู้จักกับราวานา Ravana

ทศกัณฐ์ (แปลว่า สิบหน้า, ภาษาเตลูกู เรียก ราวัน) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ บุตรของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา เจ้าครองกรุงลงกา เดิมเป็นยักษ์ชื่อ "นนทก" กลับชาติมาเกิด ซึ่งนนทกมีหน้าที่ล้างเท้าให้กับเทวดาทั้งหลาย เทวดาเหล่านั้นก็มักจะลูบหัวนนทกจนล้าน นนทกจึงเกิดความแค้น เลยไปขอนิ้วเพชรจากพระอิศวร แล้วทำร้ายพวกเทวดาที่มาลูบหัวตน นนทกได้เข่นฆ่าเหล่าเทวดาตายนับไม่ถ้วน ทำให้พระอิศวรต้องร้องขอพระนารายณ์ให้มาช่วยปราบนนทกให้
พระนารายณ์จัดการกับนนทก โดยการจำแลงองค์เป็นนางเทพอัปสรดักอยู่ตรงทางที่นนทกเดินผ่านเป็นประจำ ฝ่ายยักษ์นนทกเมื่อได้เห็นนางจำแลงจึงเกิดความหลงและเข้าไปเกี้ยวพาราสี นางจำแลงแสร้งทำยินดี โดยยื่นข้อเสนอว่าให้นนทกร่ายรำตามนางทุกท่าแล้วจะยินดีผูกมิตรด้วย และแล้วยักษ์นนทกก็ทำตามนาง โดยหารู้ไม่ว่านั่นเป็นเล่ห์กล จนกระทั่งถึงท่านาคาม้วนหางนิ้วเพชรของนนทกชี้ไปที่ขาของตัวเอง ขานนทกก็หักลงทันใด นนทกล้มลง ทันใดนั้น นางแปลงกลายเป็นพระนารายณ์เหยียบอกนนทกไว้
ก่อนตายนนทกอ้างว่าพระนารายณ์มีหลายมือตนสู้ไม่ได้ พระนารายณ์จึงให้คำสัตย์ว่า ให้นนทกไปเกิดใหม่ มีสิบเศียรสิบพักตร์ยี่สิบมือ เหาะเหินเดินอากาศได้ มีอาวุธนานาชนิดครบทุกมือ ส่วนพระนารายณ์จะไปเกิดเป็นมนุษย์มีสองมือและตามไปฆ่านนทกให้ได้ นนทกพอวิญญาณหลุดจากร่างก็ไปจุติในครรภ์พระนางรัชดา มเหสีท้าวลัสเตียน เจ้ากรุงลงกา เกิดมาเป็นโอรสนามว่า ทศกัณฐ์
ทศกัณฐ์ เป็นยักษ์รูปงาม มีสิบหน้า ยี่สิบกร ทรงมงกุฏชัย ลักษณะปากแสยะ ตาโพลง กายปกติสีเขียว แต่มีนิสัยเจ้าชู้ ตอนที่เกี้ยวพาราสีนางมณโฑได้เนรมิตร่างตนเองให้เป็นสีทอง